โลโก้เว็บไซต์ ระบบสนับสนุนงานบริหารงานก่อสร้าง | กองพัฒนาอาคารสถานที่  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ระบบสนับสนุนงานบริหารงานก่อสร้าง


ระบบฐานข้อมูลสนับสนุนการควบคุมและบริหารงานก่อสร้าง

ที่มาและความสำคัญ

           จากการดำเนินงานของโครงการก่อสร้าง โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1.) การสำรวจการออกแบบและจัดทำประมาณราคา ถือเป็นงานต้นน้ำ (2.) การจัดซื้อจัดจ้าง (E-bidding) ถือเป็นงานกลางน้ำ และ (3.) การบริหารสัญญาและควบคุมงาน ถือเป็นงานปลายน้ำ ในขั้นตอนทั้งหมด ขั้นตอนที่ (3.) นับว่าที่เป็นงานบริหารจัดการ ที่ต้องใช้หลักวิศวกรรมและหลักบริหารร่วมกัน ถือว่ายุ่งยากที่สุด เพราะมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย มักประสบปัญหาอุปสรรคที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ เพราะเป็นเรื่องของอนาคตที่นำแบบแปลนไปก่อสร้างบนพื้นที่จริง โดยมีผู้ควบคุมงานทำหน้าที่ตรวจสอบ กำกับ ควบคุมรวมทั้งรายงานผลความก้าวหน้า การเบิกจ่าย ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไขของงานก่อสร้างที่มีอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทราบในทุกๆ สัปดาห์ ในยุคปัจจุบัน การจัดการและบริหารงานควบคุมงานก่อสร้างจำเป็นต้องหาวิธีการรายงานที่มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็วและทันสมัย โดยในปี พ.ศ.2564 กองพัฒนาอาคารสถานที่ ได้ริเริ่มนำเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างระบบฐานข้อมูลสนับสนุนการควบคุมและบริหารงานก่อสร้าง สำหรับเป็นเครื่องมือที่เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานควบคุมงานและบริหารงานก่อสร้าง และมีความสะดวกรวดเร็วขึ้น รวมทั้งเป็นการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ง่ายต่อการตรวจสอบความถูกต้องต่างๆ เปรียบเหมือนเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลภาคสนามซึ่งอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย กับตัวผู้ควบคุมงานซึ่งทำหน้าที่อยู่ในภาคสนามและส่งตรงถึง คณะกรรมการการตรวจรับพัสดุ ก่อนผ่านไปยังผู้บริหารที่อยู่ในส่วนกลาง

จุดประสงค์

           1. เพื่อสร้างเครื่องมือที่เพิ่มประสิทธิภาพความสะดวกในการดำเนินงานควบคุมงานและบริหารงานก่อสร้างภายในพื้นมหาวิทยาลัย

           2. รวบรวมข้อมูจัดทำเป็นฐานข้อมูลโครงการก่อสร้างและปรับปรุงอาคารและสิ่งก่อสร้างภายในพื้นมหาวิทยาลัย

 

ขอบเขตข้อมูล

A) Admin/ธุรการ : จัดเตรียมและนำเข้าข้อมูลตั้งต้น

  • ชื่อโครงการ/เลขที่สัญญา/วันเริ่มงาน/วันแล้วเสร็จ

  • ชื่อผู้รับจ้าง

  • งบประมาณ รวม/รายปี

  • รายชื่อกรรมการตรวจรับพัสดุ/ผู้ควบคุมงาน ฯลฯ

 

B) ผู้ควบคุมงาน : ตรวจสอบกำกับ และควบคุมงาน

  • นำเข้าข้อมูลให้แก่ แผนงาน เอกสารอนุมัติวัสดุ/เก็บตัวอย่างส่งทดสอบ

  • รายงานความก้าวหน้างานก่อสร้าง ทำบันทึกประจำวัน/สัปดาห์/เดือน ภาพถ่าย

  • จัดทำเอกสารประกอบการส่งงวดงานและตรวจสอบผลการเบิกจ่ายงบประมาณ

  • อุปสรรคและแนวทางแก้ไข/การสั่งหยุดงาน - เริ่มงาน ฯลฯ

 

C) คณะกรรมการตรวจรับพัสดุตรวจสอบติดตามความก้าวหน้าและบริหารสัญญา

  • ตรวจสอบบันทึกประจำวัน/สัปดาห์/เดือน

  • ตรวจสอบภาพการก่อสร้าง

  • ตรวจสอบการอนุมัติวัสดุ/ผลทดสอบ/ความถูกต้องของงานก่อสร้าง

  • ติดตามความก้าวหน้า/การใช้งบประมาณ/ตรวจรับการส่งงวดงาน

 

D) ผู้บริหาร : ติดตาม ภาพรวมการบริหารสัญญา/การเบิกจ่ายของโครงการก่อสร้าง

 


หมายเหตุ* อยู่ระหว่างดำเนินการเขียนโครงการ

ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา