โลโก้เว็บไซต์ สำนักงานสีเขียว (Green Office) | กองพัฒนาอาคารสถานที่  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

สำนักงานสีเขียว (Green Office)


ที่มาและความสำคัญ

               ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีนโยบายที่พัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการพลังงาน มทร.ล้านนา 6 พื้นที่ อย่างเป็นทางการ หลังจากนี้คณะทำงานจะช่วยขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย สู่การเป็น มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) ได้อย่างยั่งยืน โดยการเข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการพัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว


การดำเนินงานโครงการสำนักงานสีเขียวของกองพัฒนาอาคารสถานที่ มทร.ล้านนา

พ.ศ.2562

     ได้ดำเนินการสมัครเข้าร่วมโครงการ ; ส่งใบสมัครพร้อมข้อมูลการประเมินตนเองเบื้องต้นไปยัง กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และดำเนินการขอยกเลิกการประเมินเนื่องจากมหาวิทยาลัยยังไม่มีความพร้อมในการประเมิน ตามคำแนะนำของคณะกรรมการฯ

     - ใบสมัครเข้าร่วมโครงการ พ.ศ.2562

     - แบบตรวจประเมินเบื้องต้น พ.ศ.2562

พ.ศ.2563

     ได้ดำเนินการสมัครเข้าร่วมโครงการ แต่ไม่สามารถดำเนินงานได้ต่อเนื่องจาก ติดสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19)

พ.ศ.2564 

      ดำเนินการเตรียมตัวเพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการในปี พ.ศ.2565

      - แนวทางสำนักงานสีเขียว Green Office

      - หนังสือมาตรฐานสำนักงานสีเขียว Green Office

      - โปสเตอร์ Greenoffice


ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

==> ดาวน์โหลดเอกสารโครงการ 2564

==> เกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) UPDATE

==> ใบสมัครสำนักงานสีเขียว (Green Office)

==> ใบสมัครสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)

==> brochure-Greenoff2564 แผ่นที่ 1

==> brochure-Greenoff2564 แผ่นที่ 2

==> แบบประเมินตนเอง

==> แบบประเมินตนเอง

==> แผนดำเนินโครงการสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)


เกล็ดความรู้

               UI-Rank UI GreenMetric World University Ranking เป็นการวัดและจัดอันดับโดย มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย (University of Indonesia : UI) เป็นการจัดอันดับสถาบันการศึกษาสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระดับโลก โดยมีมหาวิทยาลัยหลายประเทศให้ความสนใจ เพราะเป็นการวัดความสำเร็จของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ได้พัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยให้เขียวสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

โดยมีเกณฑ์การประเมิน 6 ด้าน และมีสัดส่วนคะแนน คือ
1. Setting And Infrastructure (ที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐาน) 15%
2. Energy and Climate Change (การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) 21%
3. Waste management (การจัดการของเสีย) 18%
4. Water usage (การจัดการน้ำ) 10%
5. Transportation (การขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) 18%
6. Education (ความสามารถในการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน) 18%


หมายเหตุ* หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ 061-0212348 (เจนจิรา) , 086-9114257 (ชัชวาล)

ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา